ภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรง

เชื่อหรือไม่ว่าโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงพบได้บ่อย และมักเกิดขึ้นแบบที่ผู้คนไม่ค่อยได้ทันสังเกต จนบางทีกลายเป็นโรคเฉียบพลันขึ้นมา ด้วยลักษณะของโรคที่ไม่ได้เกี่ยวกับกล้ามเนื้อ แต่มาจากระบบประสาทที่ทำงานผิดปกติ และเนื่องจากตัวโรคเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ ทำให้คนส่วนใหญ่ไม่ได้นึกถึง จนอาการเริ่มชัดเจนขึ้น เสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้สูง ดังนั้นควรมาทำความรู้จักอาการ และการดูแลตัวเอง จะได้รู้ทันรีบรักษา ยิ่งรู้ไว โอกาสกลับมาหายเป็นปกติก็สูงขึ้นด้วย

อะไรคือโรค ALS หรือโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง เป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า ALS ย่อมาจาก Amyotrophic Lateral Sclerosis โดยตัวโรคจะพบได้จากการเสื่อมสภาพของเซลล์ประสาทที่อยู่ในสมองและไขสันหลัง เป็นเซลล์ประสาทที่ทำหน้าที่ควบคุมกล้ามเนื้ออีกทีหนึ่ง เมื่อเกิดความผิดปกติขึ้น เลยทำให้การควบคุมกล้ามเนื้อทำได้ยาก เกิดอาการอ่อนแรง พบได้มากในกลุ่มคนอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไปจนถึง 60 ปี

สาเหตุที่เป็นตัวการทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง

เมื่อเจาะลึกไปถึงสาเหตุความผิดปกติภายในร่างกาย อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่าไม่ได้เกิดจากกล้ามเนื้อโดยตรง แต่ขึ้นจากเซลล์ประสาทไม่สามารถทำงานได้ ซึ่งอาจจะเกิดจากการถูกทำลาย ส่งผลให้กล้ามเนื้อไม่มีแรง เนื่องจากเซลล์ประสาทเข้าไปควบคุมการทำงานไม่ได้

สาเหตุเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย โดยเฉพาะอายุที่มากขึ้น เซลล์ต่าง ๆ มีการเสื่อมสภาพ ทำงานได้ไม่เต็มที่ โดยเฉพาะเซลล์ประสาทที่ทำหน้าที่ในการควบคุมกล้ามเนื้อ หรืออาจจะมีสาเหตุมาจากโปรตีนบางชนิดที่เกี่ยวเนื่องกับความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน ไปจนถึงการได้รับสารพิษ สารเคมีอันตรายต่าง ๆ สะสมเป็นจำนวนมาก บางรายพบประวัติว่าคนในครอบครัวเคยป่วยเป็นโรค ALS ด้วย ซึ่งจะมีความเสี่ยงสูงกว่าคนทั่วไปเป็น 2 เท่า

อาการอะไรบ้างที่บ่งชี้ว่าเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง

อาการที่ชวนให้สังเกตก่อนที่จะสายเกินแก้ เนื่องจากว่าโรค ALS นั้นจะมีอาการค่อยเป็นค่อยไป โดยสามารถสังเกตได้ดังนี้

1.รู้สึกไม่ค่อยมีแรงบริเวณกล้ามเนื้อ ซึ่งเกิดขึ้นได้ทุกส่วน โดยเฉพาะข้อมือ เมื่ออาการเริ่มที่จุดใดจุดหนึ่งแล้วจะค่อย ๆ ลามไปยังอวัยวะอื่น

2.รู้สึกเดินยากลำบาก สะดุดล้ม หยิบจับสิ่งของลำบาก กำได้ไม่ค่อยแน่น หกล้มได้ง่าย เดินแล้วรู้สึกหมดแรงจนล้มลงไป

3.หากเกิดที่บริเวณกล้ามเนื้อในปาก อาจทำให้พูดไม่ชัด ลิ้นแข็ง กลืนอาหารยาก เสี่ยงเกิดการสำลัก

4.มีอาการเหนื่อยง่าย บางรายมักตื่นมากลางดึก เพราะหายใจลำบาก

5.อาการเมื่อเริ่มรุนแรงจะทำให้บริเวณกล้ามเนื้อที่คอไม่มีแรง คอตกจนต้องใช้การพยุง

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงรักษาหายได้หรือไม่?

ในขั้นตอนการรักษา ถ้ารับการรักษาได้เร็ว โอกาสที่จะกลับมาหายเป็นปกติจะทำได้เร็วขึ้น โดยแพทย์จะเช็คอาการและรักษาตามความรุนแรง เบื้องต้นจะเป็นการให้ยาที่ช่วยกระตุ้นให้กล้ามเนื้อมีแรง และรักษาร่วมกับกาให้ยาปรับภูมิคุ้มกันของร่างกาย ป้องกันไม่ให้ภูมิคุ้มกันร่างกายสร้างมาทำร้ายกันเอง

ซึ่งผู้ป่วยจะต้องให้ความร่วมมือ ดูแลสุขภาพ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ  กินยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด บางรายอาจมีการต่อสู้กับโรคด้วยวิธีกายภาพบำบัดด้วย โดยแพทย์จะคอยติดตามอาการอย่างใกล้ชิด เพื่อดูแลเรื่องโรคแทรกซ้อนร่วมด้วย กรณีที่รักษาได้ทัน อาการยังไม่หนักมาก ผู้ป่วยจะมีโอกาสกลับมาหายเป็นปกติได้สูง

เราจะป้องกันการเกิดโรคนี้ได้ยังไง

สำหรับวัยหนุ่มสาวต้องคอยป้องกันให้กล้ามเนื้อแข็งแรงอยู่เสมอ ด้วยการออกกำลังกายเพื่อไม่ให้มวลกล้ามเนื้อถูกทำลาย เลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ โปรตีนสูง กรณีกลุ่มที่มีโรคประจำตัว จะต้องคอยปรึกษาแพทย์เมื่อพบอาการอ่อนแรงที่ดูผิดปกติ หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ และความเครียด ใช้ชีวิตไม่หักโหม ให้งานและการดูแลตัวเองเป็นไปอย่างสมดุลที่สุด ก็จะช่วยลดการเกิดโรคนี้ได้

โดยเฉลี่ยจะพบผู้ป่วยที่เสียชีวิตหลังจากมีอาการประมาณ 2-3 ปี สาเหตุของโรคยังไม่แน่ชัดขนาดที่จะฟันธงได้ แต่พบตัวกระตุ้นที่มาจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของพันธุกรรม หรือปัจจัยที่เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมรอบตัว ดังนั้นการหมั่นเช็คความผิดปกติของตัวเอง และคอยดูแลสุขภาพให้ดีอยู่เป็นประจำ จะช่วยลดการเกิดโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้ ยิ่งถ้าผู้ป่วยรู้ว่าป่วยเป็นโรคนี้ได้ไว การรักษาทำได้ไวตามมา โอกาสหายกลับมาใช้ชีวิตอย่างมีความสุขได้ก็ไม่ยากอย่างที่คิด

By beauty