หนองในเทียม โรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์ ที่ต้องระวัง

หนองในเทียม เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่ต้องระวังเพราะติดต่อได้ง่ายผ่านการมีเพศสัมพันธ์ ทำให้เกิดหนองบริเวณอวัยวะเพศ ซึ่งในบางคนอาจไม่ปรากฏอาการที่ชัดเจนก็ได้ และยังเป็นโรคที่พบมากในวัยรุ่นหรือคนที่มีเพศสัมพันธ์บ่อยๆ อีกด้วย โดยโรคนี้เกิดจากอะไร มีอาการและวิธีการรักษาอย่างไรบ้าง วันนี้เราก็มีข้อมูลมาบอกให้รู้กันแล้ว ทั้งนี้ก็ต้องไปดูกันเลย

สาเหตุของโรคหนองในเทียม

สาเหตุของการติดโรคหนองในเทียมจะมีหลายสาเหตุด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ป่วยโดยไม่มีการป้องกันอย่างการใส่ถุงยางอนามัย ไม่ว่าจะเป็นการมีเพศสัมพันธ์ผ่านทางช่องคลอด ทางทวารหนัก หรือแม้แต่ทางปาก ก็สามารถติดโรคหนองในเทียมได้เช่นกัน และโรคหนองในเทียมนี้ก็สามารถที่จะติดต่อจากแม่ที่เป็นโรคสู่ลูกในขณะที่คลอดลูกออกมาทางช่องคลอดได้อีกด้วย และการที่คนเรามีคู่นอนหลายคนก็จะทำให้เรามีความเสี่ยงในการติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นอีกด้วยและยังทำให้เรานั้นไม่ทราบด้วยว่าได้ติดเชื้อมาจากใคร และการมีเพศสัมพันธ์แบบนี้ก็จะยิ่งทำให้โรคหนองในเทียมนี้แพร่กระจายไปอย่างรวดเร็วอีกด้วย

อาการของโรคเป็นอย่างไร

อาการของหนองในเทียมจะไม่ปรากฏขึ้นในทันทีที่ติดเชื้อ แต่จะแสดงอาการหลังจากนั้นประมาณ 1-3 สัปดาห์ ซึ่งมีอาการอย่างไรบ้างมาดูกันเลย

1.อาการหนองในเทียมในเพศชาย ส่วนใหญ่จะมีการแสดงอาการออกมา ดังนี้

  • มีมูกไหลออกจากปลายอวัยวะเพศไม่ว่าจะเป็นสีใสหรือสีขุ่น
  • มีอาการอักเสบที่บริเวณหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ
  • รู้สึกเจ็บแสบ ที่อวัยวะเพศขณะที่ปัสสาวะ
  • รู้สึกปวดและมีอาการบวมที่ลูกอัณฑะ

2.อาการหนองในเทียมในเพศหญิง ส่วนใหญ่แล้วจะมีอาการเพียง 30 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น และจะมีการแสดงอาการดังต่อไปนี้

  • มีตกขาว ที่มีลักษณะสีที่ผิดปกติและมีกลิ่นเหม็น
  • รู้สึกเจ็บแสบที่บริเวณอวัยวะเพศขณะที่ปัสสาวะ
  • คันหรือแสบร้อนบริเวณรอบอวัยวะเพศ
  • รู้สึกปวดท้องน้อยเวลามีประจำเดือนหรือขณะที่กำลังมีเพศสัมพันธ์

วิธีการรักษาเมื่อเป็นโรคนี้

แพทย์จะทำการซักการมีเพศสัมพันธ์ว่ามีความเสี่ยงอย่างไรข้าง รวมไปถึงถามถึงการป้องกันขณะมีเพศสัมพันธ์ จากนั้นเก็บตัวอย่างสารคัดหลั่งจากปลายอวัยวะเพศที่มีมูกไหลออกมา เพื่อส่งตรวจต่อไป โดยจะมีวิธีการอยู่ 2 วิธี ดังนี้

1.การเก็บตัวอย่างเชื้อจากมูกที่ไหลออกมา

จะเก็บตัวอย่างสารคัดหลั่งบริเวณที่มีการร่วมเพศไม่ว่าจะเป็นทางช่องคลอด ทวารหนัก หรือทางปาก โดยใช้ไม้พันสำลีปั่นออกมา

2.การทดสอบปัสสาวะ

เก็บตัวอย่างปัสสาวะของผู้ป่วยไปตรวจและควรเป็นปัสสาวะที่ทิ้งระยะจากการปัสสาวะครั้งล่าสุด 1-2 ชั่วโมง โดยผู้ป่วยจะต้องรอผลการเก็บตัวอย่างสารคัดหลั่งประมาณ 7-10 วัน และถ้าหากผู้ป่วยมีอาการที่ปรากฏออกมาได้ชัดและค่อนข้างจะอาการหนักแพทย์จะทำการรักษาให้ในทันที

แนวทางการป้องกันโรค

การป้องกันโรคหนองในเทียมที่ดีที่สุด คือ การลดความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์ และแนวทางการป้องกันจะมีดังนี้

1.ใช้ถุงยางอนามัยที่ถูกวิธีทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ โดยเฉพาะเมื่อมีเพศสัมพันธ์กับคนอื่นที่ไม่ใช่สามี ภรรยา

2.มีคู่นอนเพียงคนเดียว เพราะการเปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ นั้นเป็นการเพิ่มความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อ

3.หลีกเลี่ยงการสวนล้างอวัยวะเพศภายใน เพราะจะเป็นการลดจำนวนแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์และยังเป็นการเพิ่มโอกาสในการติดเชื้อ ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคหนองในเทียมได้ง่าย ทั้งยังเสี่ยงต่อโรคอื่นๆ อีกด้วย

3.หนองในเทียมจะติดต่อผ่านทางสารคัดหลั่งของผู้ป่วยเท่านั้น ไม่ติดต่อทางการสัมผัสหรือใช้ของใช้ร่วมกัน

4.ควรหมั่นไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายอย่างเป็นประจำ เช่น การตรวจเลือดหรือการตรวจหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

หากรู้แบบนี้แล้วก็ควรป้องกันดีๆ ทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ โดยการใส่ถุงยางอนามัยเสมอ ซึ่งนอกจากจะป้องกันหนองในเทียมได้แล้ว ยังป้องกันโรคอื่นๆ ที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และลดปัญหาการท้องไม่พร้อมได้อีกด้วย

By beauty